5 สิ่งที่ต้องศึกษา ก่อนคิดจะทำสตาร์ทอัพ มีอะไรบ้างนะ?
.
ในการทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจ (Feasibility Study) ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานในการเริ่มทำสตาร์ทอัพหรือธุรกิจ ที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางในการทำธุรกิจให้เหมาะสมและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
.
แล้วจะมีปัจจัยใดที่สตาร์ทอัพต้องศึกษาความเป็นไปได้บ้าง 88 SANDBOX สรุปมาให้แล้ว ตามไปดูพร้อมกัน!
.
1) Market Feasibility
ความเป็นไปได้ทางการตลาด คือ การศึกษาว่าไอเดียสินค้าหรือบริการที่คิดไว้ มีความต้องการในตลาดมากน้อยเพียงใด มีกลุ่มเป้าหมายมากน้อยขนาดไหน จำนวนสินค้าที่ต้องการเพียงพอต่อการสร้างธุรกิจหรือไม่ รวมถึงเป็นการวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่งที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมก่อนเริ่มทำสตาร์ทอัพ
.
2) Production Feasibility
ความเป็นไปได้ในเชิงการผลิต คือ การศึกษากระบวนการในการผลิตสินค้าหรือบริการ ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ และศึกษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เทคโนโลยีการผลิตและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์จากคุณภาพ ราคา ปริมาณ และเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการของธุรกิจตนเอง
.
3) Law & Regulation Feasibility
ความเป็นไปได้ในเชิงกฏหมาย คือ การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ โดยสตาร์ทอัพควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือการขอใบอนุญาตหรือใบรับรอง เพื่อทำให้ธุรกิจหรือสตาร์ทอัพที่ทำเกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้สตาร์ทอัพหรือธุรกิจของเรา
.
4) Business Model Feasibility
ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการสร้างรายได้ คือ การวิเคราะห์หารูปแบบการสร้างรายได้ที่เหมาะสม ด้วยการเขียนแผนธุรกิจหรือ Business Model ให้ออกมาเป็นรูปธรรม กำหนดทิศทางและแผนการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจอย่างรอบด้าน และสามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องในระยะยาว
.
5) Financial Feasibility
ความเป็นไปได้ในทางการเงิน คือ การศึกษาแหล่งเงินทุนสนับสนุนธุรกิจ รวมถึงต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละระยะ เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ที่จะได้เงินทุนตามต้องการ และประเมินการใช้เงินในแต่ละส่วนของธุรกิจให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
.