ส่อง 3 สตาร์ทอัพไทยที่กำลังมุ่งไปเป็นยูนิคอร์น
.
“ยูนิคอร์น” เป็นเป้าหมายสุดท้าทายของบรรดาสตาร์ทอัพ ถือเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จกับการเติบโตและระดมทุนจนมูลค่าบริษัททะลุ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2564 ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพไทย 3 รายก็ได้เข้าเส้นชัยได้สำเร็จ ได้แก่ Flash Express, Ascend Money และ Bitkub
.
การเพิ่มขึ้นของยูนิคอร์นสัญชาติไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจแขนงต่าง ๆ ของประเทศ โอกาสของสตาร์ทอัพ และทิศทางของเทคโนโลยีกับโลกอนาคต
.
นอกจาก 3 ธุรกิจข้างต้น ก็ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอีกหลายเจ้าที่กำลังวิ่งตามมาไม่ห่าง และหวังว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะถึงเวลาของพวกเขาบ้าง ในการได้สลักชื่อว่าเป็น ‘สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น’ อีกตัวหนึ่งของประเทศไทย
.
#88SANDBOX เปิดวาร์ป 3 ธุรกิจสตาร์ทอัพไทย ที่กำลังมาแรงบนลู่วิ่งแห่งการเติบโต และคาดว่ากำลังจะ ‘อีโว’ ไปเป็นยูนิคอร์นในไม่ช้า จะมีบริษัทอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกัน
.
1. LINE MAN Wongnai
ผู้ให้บริการด้านเดลิเวอรี่และรีวิวอาหาร ที่เพิ่งมีการควบรวมกิจการเป็นหนึ่งเดียวกันในปี 2563 ระหว่าง LINEMAN แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่มีกลุ่มร้านอาหารในเครือกว่า 4 แสนร้านทั่วประเทศ และ Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารจำนวนผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ภายใต้การนำของ CEO คนเก่งอย่าง “ยอด ชินสุภัคกุล”
.
รายได้ปี 2563 ที่มีการเปิดเผยอยู่ที่ 2,214 ล้านบาท ขาดทุน -433 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขอาจจะดูไม่สวยสักเท่าไร แต่ความยิ่งใหญ่ของ LINEMAN Wongnai และการผนึกกำลังทำให้เพิ่มเสริมขีดความสามารถการแข่งขัน เติบโตต่อเนื่อง เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในสนามบริการเดลิเวอรี่ และคาดว่าจะไปเป็น ‘สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น’ ในอีกไม่นาน
.
2. Finnomena
ผู้ให้บริหารแพลตฟอร์ตบริหารเงินลงทุนครบวงจร ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว และนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ มีความโดดเด่นด้านความเป็นกลาง เนื่องจากไม่มีสังกัดกับบริษัทหลักทรัพย์ ปัจจุบันมีนักลงทุนกว่า 120,000 คน มีทรัพย์สินในการบริหารจัดการกว่า 10,000 ล้านบาท ก่อตั้งโดย เจษฎา สุขทิศ ในปี 2559
.
จากข้อมูลการเงินในปี 2562 พบว่ามีรายได้อยู่ที่ 52 ล้านบาท ขาดทุน -13 ล้านบาท แต่กระแสตอบรับของษริษัทกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากกระแสความสนใจลงทุนในกลุ่ม New Generation และการเกิดขึ้นของ Cryptocurrency อาจเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ Finnomena ทะยานไปเป็น ‘สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น’ ของไทยในอนาคต
.
3. Ookbee
ผู้ให้บริการ E-book และสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ที่ก่อตั้งโดย ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ในปี 2553 จัดเป็น
สตาร์ทอัพรุ่นบุกเบิกเจ้าแรก ๆ ในเมืองไทย จนปัจจุบันสามารถขึ้นมาเป็นแนวหน้าของผู้ให้การในตลาดสิ่งพิมพ์ดิจิทัล มียอดขายกว่าพันล้าน จากผู้อ่านกว่า 7 ล้านคนภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ได้ขยายฐานธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
.
รายได้ของที่เปิดเผยในปี 2563 พบว่าอยู่ที่ 507 ล้านบาท ขาดทุน -105 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ยุคดิจิทัลที่ disrupt สิ่งพิมพ์แบบกระดาษและไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่เน้นการเสพสื่อ
ตัวหนังสือผ่านหน้าจอมากขึ้น เป็นตัวเร่งชั้นยอดส่งผลให้ Ookbee เติบโตและครองตัวเป็น
เจ้าตลาดอยู่ในปัจจุบัน และมีโอกาสที่จะก้าวเป็น ‘สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น’ อีกตัวของไทย
.
นอกจากนี้ Ookbee ยังถือหุ้น 50% ของ Six network แพลตฟอร์มสำหรับ Creative Workers และ Digital Creators อีกด้วย
.
จะเห็นได้ว่า 3 ธุรกิจที่เรายกตัวอย่าง มาจากสายธุรกิจที่แตกต่างกัน และยังมีอีกหลายองค์กรที่กำลังพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองในฐานะสตาร์ทอัพเพื่อก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จ มุ่งสู่การเป็นยูนิคอร์นให้ได้ แม้จะยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ !
.
ที่มา : thumbsup, longtunman, finnomena, datawarehouse, WorkpointToday, Moneybuffalo
___________________________________________
อย่าลืมกดติดตาม #88SANDBOX เอาไว้!
จะได้ไม่พลาดทุกคอนเทนต์ อัปเดตก่อนใครเรื่อง Startup
Facebook : www.facebook.com/88Sandbox
Line OA : @88Sandbox
#88SANDBOX #BetterLifeBetterSociety